เทวฑูตถือสาร มาแจ้งแด่พระนางมารีอา
วันทามารีอา เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้มีบุญกว่าหญิงใดใด และพระเยซู โอรสของท่าน ทรงบุญนักหนา สันตะมารีอา มารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อเราคนบาป บัดนี้ และเมื่อจะตาย อาแมน
วันทามารีอา     

  วันทามารีอา เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้มีบุญยิ่งกว่าหญิงใดใด 
ก. เทวฑูตถือสารมาแจ้งแด่พระนางมารีอา
ร. และพระนางได้ทรงครรภ์ด้วยเดชะพระจิต
วันทามารีอา ฯลฯ
ก.ข้าพเจ้าคือผู้รับใช้ของพระสวามี
ร. จงเป็นไปแก่ข้าพเจ้า ตามวาทะของท่าน
วันทามารีอา ฯลฯ
ก. และพระวจนาถทรงรับเอากาย
ร. และมาประทับอยู่ท่ามกลางเรา
วันทามารีอา ฯลฯ
ก. โปรดภาวนาอุทิศแก่เราเถิด พระชนนีเจ้าข้า
ร. เพื่อเราสมจะได้รับตามสัญญา ของพระคริสตเจ้า


   เราจงภาวนา
  พระสวามีเจ้าข้า เทวฑูตมาแจ้งให้เราทราบแล้วว่า พระคริสตเจ้า พระบุตรของพระองค์ทรงรับเอากาย, เราจึงขอพระองค์ โปรดประทาน
   พระหรรษทานลงในจิตใจ ให้เราเข้าพึ่งมหาทรมานและกางเขนของพระองค์ เพื่อจะได้กลับเป็นขึ้นมาอย่างรุ่งเรือง เดชะพระสวามีคริสตเจ้า อาแมน.

   ราชินีแห่งสวรรค์

  • ราชินีแห่งสวรรค์ เชิญยินดี อัลเลลูยา
  • เพราะผู้ที่ท่านได้มีบุญอุ้มในครรภ์นั้น อัลเลลูยา
  • ได้กลับคืนชีพดังตรัสไว้ อัลเลลูยา,
  • โปรดวิงวอนพระเจ้าเพื่อเราด้วย อัลเลลูยา.
  • ก. จงชื่นชมยินดีเถิด พรหมจารีมารีอา อัลเลลูยา
  • ร. เพราะว่า พระสวามีได้กลับคืนชีพจริงแท้ อัลเลลูยา

       เราจงภาวนา    ข้าแต่พระเป็นเจ้า อาศัยการกลับคืนชีพแห่งพระบุตร พระเยซูคริสตเจ้าสวามีของเรา, พระองค์ได้บันดาลให้โลกยินดีฉันใด, อาศัยพระนาง
      พรหมจารีมารีอา พระมารดาของพระองค์, ขอโปรดให้เราได้มีส่วน ในความยินดีแห่งชีวิตนิรันดรฉันนั้น, เดชะพระสวามีคริสตเจ้า, อาแมน.


       ความเป็นมาของบท "เทวทูตถือสาร"
    • สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงเน้นให้คริสตังสวดบทเทวทูตถือสารทุกวัน เพื่อระลึกถึงการที่พระบุตรทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ จากพระมารดามารีอา และพระองค์เองรวมทั้งพระสันตะปาปาองค์ก่อนๆ ก็ได้ประทานตัวอย่าง โดยทรงนำสวดบทเทวทูตถือสาร ทุกวันอาทิตย์เวลาเที่ยง และวิทยุวาติกันก็ถ่ายทอดการสวด สำหรับคริสตังทั่วโลกด้วย.
    • บท "เทวทูตถือสาร" มีพัฒนาการมาเป็นเวลาหลายร้อยปี บทภาวนานี้ แต่ก่อนเรียกว่า บทสวดวันทามารีอาเพื่อสันติภาพ จุดประสงค์เพื่อถวายเกียรติแด่พระบุตรผู้เสด็จมาไถ่บาปมนุษย์ และถวายเกียรติแด่พระมารดาของพระองค์ แรกๆ สวดเพื่อสันติภาพในตอนเย็นเท่านั้น เพราะสมัยนั้นถือกันว่า อัครเทวดาคาเบียลถือสารมาตอนเย็น ทำให้เกิดสันติภาพระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ หลังจากที่ขาดสัมพันธ์กันเพราะบาปของอาดัมเอวา ระยะต่อมาจึงสวดเวลาเช้า และในที่สุดจึงสวดเวลาเที่ยงด้วย
    • จากเอกสารปรากฏ ใน ค.ศ.1263 คณะฟรันซิสกันเป็นผู้เริ่มสวดบทนี้ สมัยที่นักบุญบอนาเวนตูราเป็นหัวหน้าคณะ ได้มีประกาศว่า "ให้นักบวชสนับสนุนสัตบุรุษให้สวดบทวันทามารีอา เมื่อได้ยินเสียงระฆังหลังทำวัตรสวดนอน การสวดได้ขยายไปทั่วยุโรป
    • ใน ค.ศ. 1318 มีเอกสารจากพระสันตะปาปายวง ที่ 22 ทรงสรรเสริญขนบธรรมเนียมของวัด ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งตีระฆังเชิญสัตบุรุษสวดวันทามารีอาเวลาเย็น และประทานพระการุณย์ 10 วัน แก่ผู้ที่คุกเข่าสวดบทนี้
    • ปี 1327 ธรรมเนียมนี้ได้เกิดขึ้นในอิตาลี พระสังฆราชต่างๆ ทำตามแบบอย่างพระสันตะปาปา สวดวันทามารีอาเวลาเช้า ในอิตาลีมีหลักฐานว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 มีการตีระฆัง 3 ครั้ง และสวดวันทามารีอาเวลาเช้า
    • ในฝรั่งเศส ปี 1368 พ่อเจ้าวัดตีระฆังเช้า (เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น) เหมือนเวลาค่ำ (เย็น) และสวดบทข้าแต่พระบิดา 5 ครั้ง เพื่อระลึกถึงรอยแผล 5 ประการของ พระเยซูเจ้า และสวดบทวันทามารีอา 5 ครั้ง เพื่อร่วมแสดงความยินดีกับแม่พระ ที่ได้รับพระพรมากมายจากพระเป็นเจ้า
    • ที่อังกฤษในปี 1399 พระสังฆราชแห่งแคนเตอร์เบอรี่ สั่งให้ตีระฆังอาเวมารีอาตอนเช้า เช่นเดียวกับที่เคยทำในเวลาเย็น และให้สวดเหมือนตอนเย็นด้วย คือ ข้าแต่พระบิดา 1 บท วันทามารีอา 5 บท เพื่อขอบคุณที่แม่พระได้ช่วยเหลือประเทศอังกฤษตลอดมา
    • ในเยอรมนี ได้ออกประกาศให้ตีระฆัง 3 ครั้งในตอนเช้า และให้สวดข้าแต่พระบิดา 1 ครั้ง วันทามารีอา 3 ครั้ง. ต่อมาเปลี่ยนเป็นข้าแต่พระบิดา 3 ครั้ง วันทามารีอา 3 ครั้ง
    • ในปี 1460 สวดวันทามารีอา 3 ครั้งต่อวัน แต่มีหลายแห่งที่ตีระฆังเที่ยงเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น เช่นระลึกถึงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า เพื่อขอพระพรสำหรับสู้รบในสงครามครูเสด ฯลฯ แต่ในที่สุดก็กลายเป็นสวดวันทามารีอาตอนเที่ยงด้วย
    • บทเทวทูตถือสารในรูปปัจจุบัน พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 ในปี 1724 ได้ทรงประกาศสูตรบทเทวทูตถือสารตามที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ และประทานพระการุณย์ 100 วัน แก่ผู้ที่คุกเข่าสวดบทนี้เวลาเช้า, เที่ยง และเย็น เมื่อได้ยินเสียงระฆัง
    • ในปี 1742 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14 ทรงอนุญาตให้ยืนสวดบทเทวทูตถือสารได้ ตั้งแต่เย็นวันเสาร์และตลอดวันอาทิตย์ และในเทศกาลปาสกา ให้สวดบท "พระราชินีแห่งสวรรค์" แทน
    • ในปี 1781 พระสันตะปาปาปีโอที่ 6 ทรงอนุญาตให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลจากวัด ที่ไม่สามารถได้ยินเสียงระฆังเทวทูตถือสาร สวดบทนี้วันละ 3 ครั้งได้ โดยกะเวลาให้ ใกล้เคียงกับความจริง
    • พระสันตะปาปาทุกพระองค์ ทรงสนับสนุนให้เราสวดบทเทวทูตถือสารวันละ 3 ครั้ง ขอให้เราพยายามคิดถึงความรักของพระเป็นเจ้า วันละ 3 ครั้ง เชื่อได้อย่าง แน่นอนว่า ชีวิตของเราจะสดชื่นสงบราบรื่น กว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อย่างมากมาย

      [ GOTO MENU ] [OUR FATHER] [HOLY MOTHER] [BELIEVE IN GOD] [ PRAYER] [ NAME JESUS ] [ GOOD NEWS]
      [ST.JOSEPH] [THAI CATHOLIC][ HOLY BIBLE] [ NICHOLAS] [ คืนสุดท้าย ][ HOLY CROSS] [ เดินรูป 14 ภาค ]
      [ LONG POPE] [ HOLY ALBUM] [ PRAY RASARY] [ ALL SAINTS] [JUBILEE 2000] [ MARIE SLIDE]
         
      Send mail to [email protected]. with question or comments about this web.
      Copyright @ 1995-2000 Data computer's House. 2123-2125 Suebsiri Rd. Muang,
      Nakorn-Rachasima.30000 Thailand. Last