พระศาสนจักรคาทอลิก  [ Catholic ]  

Catholic I Pope I Cardinal I Bishop I Diocese I Korat I Priest I Cross I Jesus I Marie

อำนาจของพระสันตะปาปา มาจาก  พระดำรัสของ 
พระเยซูคริสต์  ที่กล่าวว่า

" ท่านเป็นศิลา บนศิลานี้ เราจะสร้างพระศาสนจักร"
คาทอลิก (Catholic) ศัพท์กรีก Katholicos แปลว่า สากล หมายถึงพระศาสนจักรที่พระเยซูคริสต์ ทรงตั้งขึ้นนั้นเป็นสากล

ศัพท์คำนี้ นักบุญอิญาซีโอแห่งอันทิโอก ในศตวรรษที่ 2 เป็นผู้นำมาใช้เป็นคนแรก มีความหมาย 2 ประการ คือ

  •    1.  สากลในแง่ภูมิศาสตร์   2.  สากลในแง่ความเชื่อและความจริงแท้


    นักบุญเปโตร พระสันตะปาปา องค์แรก
    ปัจจุบัน Catholic ใช้เป็นชื่อเรียก คริสตจักรที่ขึ้นกับโรม ว่า พระศาสนจักรคาทอลิก และ หลังการสังคายนาวาติกันที่ 2 พระศาสนจักรคาทอลิก ส่งเสริมศาสนสัมพันธ์ กับศาสนาต่าง ๆ เพราะถือว่าคริสตชนในนิกายต่าง ๆ (เช่น โปรแตสตันท์, ออร์โทด็อกซ์) ล้วนสังกัดอยู่ในคริสตจักรสากลของพระเยซูคริสต์ แม้จะไม่เรียกตัวเองว่า คาทอลิก แต่ความเชื่อและคำสั่งสอนนั้น มีธรรมชาติเป็นคาทอลิก หรือสากล เพราะมาจากศูนย์รวมแหล่งเดียวกัน คือ พระคริสต์ ซึ่งเป็นพระผู้ไถ่มวลมนุษย์ทั้งมวล
    พระศาสนจักรคาทอลิก มี พระสันตะปาปา (POPE) เป็นประมุขสูงสุด
      โดยมีคณะ พระคาร์ดินัล ทำหน้าที่ เป็นคณะที่ปรึกษา ในการปกครองพระศาสนจักร
    มี  มุขนายก หรือ พระสังฆราช ปกครองดูแลในเขต  สังฆมณฑล
    ในสังฆมณฑล มีโบสถ์ซึ่งคริสต์ศาสนิกชน ใช้ประกอบศาสนกิจต่าง ๆ มี  บาทหลวงหรือพระสงฆ์ เป็นผู้ปกครองดูแล  


  • สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 1984 (2527)

    พระสันตะปาปา (POPE) เป็นประมุขสูงสุดของพระศาสนจักร  (คริสตจักรโรมันคาทอลิก)
    อำนาจของพระสันตะปาปา มาจาก  พระดำรัสของ  พระเยซูคริสต์
    ที่กล่าวว่า   1. " ท่านเป็นศิลา บนศิลานี้ เราจะสร้างพระศาสนจักร" (มธ.16:18)    2. " จงเลี้ยงแกะของเรา" (ยน.21:17)

    พระสันตะปาปา มีอำนาจ 2 ประการ  คือ  อำนาจในการสอน   และ  อำนาจในการปกครอง
    เขตปกครองของ พระสังฆราช (ฺBishop) หรือ มุขนายกคริสต์จักรโรมันคาทอลิก ในประเทศไทย แบ่งเป็น 10 สังฆมณฑล ได้แก่

    สังฆมณฑลกรุงเทพฯ              มีพระคุณเจ้า ไมเคิล มีชัย กิจบุญชู    เป็นพระสังฆราช และ มีตำแหน่งเป็น พระคาร์ดินัล ด้วย
    สังฆมณฑลราชบุรี                  มีพระคุณเจ้า ยอห์นบอสโก มนัส จวบสมัย    เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลจันทบุรี                 มีพระคุณเจ้า ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลเชียงใหม่              มีพระคุณเจ้า ยอแซฟ สังวาล ศุระศรางค์   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลนครสวรรค์           มีพระคุณเจ้า หลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี         มีพระคุณเจ้า ไมเคิล ประพนธ์ ชัยเจริญ   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง   มีพระคุณเจ้า ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลอุบลราชธานี          มีพระคุณเจ้า มีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์   เป็นพระสังฆราช
    สังฆมณฑลอุดรธานี                มีพระคุณเจ้า ยอร์ช ยอด พิมพิสาร   เป็นพระสังฆราช
    และสังฆมณฑลนครราชสีมา    มีพระคุณเจ้า ยออากิม พเยาว์ มณีทรัพย์   เป็นพระสังฆราช

    มุขนายก คริสต์จักรโรมันคาทอลิก ในประเทศไทย


    สังฆมณฑลนครราชสีมามีอาณาเขตครอบคลุม 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และ ชัยภูมิ
    พระสังฆราช สังฆมณฑลนครราชสีมา ฯ พณ ฯ ยออากิม พเยาว์ มณีทรัพย์
    • เกิด     18 กรกฎาคม พ.ศ.2472 ที่จังหวัดจันทบุรี
    • การศึกษา
      • ระดับประถมศึกษา โรงเรียนมารียาลัย จันทบุรี(สตรีมารดาพิทักษ์ในปัจจุบัน)
      • มัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก และ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี
      • ปริญญาตรีและปริญญาโท ทางปรัชญาและเทวศาสตร์ วิทยาลัยปรอปากันดา ฟีเด กรุงโรมประเทศอิตาลี
      • ศึกษาต่อที่สถาบัน "ลูแมน วีเต" กรุงบรัสเซล เบลเยี่ยม

    • รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 (เมื่ออายุ 29 ปี)
      • เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหัวไผ่ เป็นเวลา 3 ปี
      • เป็นเจ้าอาวาสวัดเซนต์ปอล แปดริ้ว 3 ปี
      • เป็นผู้ดูแลสถานอบรมเยาวชนที่หัวไผ่ 7 ปี
      • เป็นผู้อำนวยการศูนย์แพร่ธรรมของสังฆมณฑลที่ศรีราชา 5 ปี
      • เป็นผู้อำนวยการศูนย์คำสอนแห่งชาติ 1 สมัย
      • เป็นผู้อำนวยการสภาสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี 2 สมัย
      • เป็นอุปสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี
    • รับศีลบวชเป็นพระสังฆราช(มุขนายก)
      • ได้รับแต่งตั้งจากองค์สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 ให้เป็น  พระสังฆราช  แห่งสังฆมณฑลนครราชสีมา
        สืบต่อจากพระสังฆราชอาแลน วังกาแวร์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2520
      • ได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราช(มุขนายกสังฆมณฑลนครราชสีมา)เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2520 จนถึงปัจจุบัน
        โดยยึดคติธรรมที่ว่า"ความรักและสันติสุข"(Caritatem et Pacem)
    ตราประจำตำแหน่ง พระสังฆราช พเยาว์ มณีทรัพย์
      • ตราประจำตำแหน่ง
        • นักบุญเปาโล สอนทิโมธี ผู้เป็นพระสังฆราชให้ใฝ่หาความชอบธรรม ความครบครัน ความรักและสันติสุข
        • รูปหัวใจ และ กางเขน หมายถึง ความรัก เพราะความรักเป็นแก่นคำสอนของพระคริสตเจ้า
        • กิ่งมะกอก หมายถึง สันติสุข ซึ่งเป็นพระพรที่พระเยซูเจ้า ประทานแก่อัครธรรมฑูต เมื่อพระองค์ทรงกลับคืนชีพ
        • เสมา เป็นชื่อพ้องกับชื่อของ สังฆมณฑลนครราชสีมา
        ในแต่ละจังหวัด จะมีโบสถ์ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ
        โดยมีบาทหลวง หรือ พระสงฆ์ เป็นเจ้าอาวาส ดูแลปกครอง
        บาทหลวง หรือ พระสงฆ์ (Priest) ในสังฆมณฑลนครราชสีมา
        ศาสนาต่าง ๆ จะมีบุคคลกลุ่มหนึ่ง ทำหน้าที่ เป็นสงฆ์หรือ พระ เป็นคนกลางระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรม และสอนศาสนา
                        คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มีบุรุษบางคน ที่สมัครใจเข้ารับการบวชเป็นพระสงฆ์ (หรือบาทหลวง) ทำหน้าที่เป็นผู้นำสัตบุรุษ  คือคริสต์ศาสนิกชนในการประกอบศาสนพิธี เทศน์สอน อบรมศีลธรรม จริยธรรม ในฐานะเป็นเจ้าอาวาสประจำโบสถ์ ดูแลรับผิดชอบสถาบันการศึกษา ดูแลรับผิดชอบโรงพยาบาล และสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ ฯลฯ  ตามที่ ประมุขสังฆมณฑลฯจะมอบหมาย และเมื่อได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ (บาทหลวง)แล้ว ต้องถือโสดตลอดชีวิต
        ศีลบวช ในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก มี 3 ขั้น คือ ขั้นสังฆานุกร (Deacon) ขั้นพระสงฆ์ (Priest) ขั้นพระสังฆราช (Bishop)
      • "พระสงฆ์"  เป็นสรรพนาม ที่ใช้เรียก ชายที่เข้ารับศีลบวช (ศีลบรรพชา)แล้ว ในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
      • "คุณพ่อ"      เป็นสรรพนาม ที่ ศาสนิกชนชาวคริสต์ ใช้เรียก พระสงฆ์หรือบาทหลวง
      • "บาทหลวง" เป็นสรรพนามทางการ ที่ใช้เรียก พระสงฆ์ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  

        กางเขน เป็น เครื่องหมายแห่งความรัก
        ประกอบด้วยไม้ 2 ชิ้น ไขว้กัน ในลักษณะ ไม้ตั้งและไม้นอน
      • ไม้ตั้ง หมายถึง ความรักของพระเป็นเจ้าที่ลงมายังมนุษย์ และความรักของมนุษย์ขึ้นไปหาพระเจ้า
      • ไม้นอน หมายถึง ความรักของมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน
      • กางเขน ค.ศ.1999 ปีพระบิดา
        สัญญลักษณ์ของการสมโภช ปี ค.ศ.1999  " ปีปิติมหาการุญ " คือ รูปกางเขน   มีรายละเอียด ดังนี้
      • ตรงกลาง เป็นรูปพระบิดา มีหนวดขาว หมายถึง เป็นผู้มีอายุยืน มือซ้ายมีอักษรอัลฟา(เริ่มต้น) และโอเมก้า(อวสาน-สุดท้าย)มาจากภาษากรีก
      • ใต้สี่เหลี่ยม เป็นภาษาลาติน Pater noster qui es in coelis แปลว่า " ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์ "
      • ด้านบนของกางเขน เป็นรูปพระบิดาทรงสร้างโลกและมนุษย์ใน 6 วัน (ปฐก.1-2)
      • ด้านขวาของกางเขน เป็นรูปมหาบุรุษอับราฮัม กำลังถวายอิสอัค แด่พระบิดา แต่พระเป็นเจ้าให้รักษาชีวิตอิสอัคเอาไว้ (ปฐก. 9:22)
      • ด้านซ้ายของกางเขนเป็นเรื่องของบิดาผู้ใจดี ที่ลูกชายผู้หลงผิดกลับมาขอโทษ (ลก.15:11-32)
      • ด้านล่างของกางเขน เป็นรูปพระบิดา พระเยซูคริสต์เจ้า ถูกตรึงกางเขน โดยมี  พระแม่มารีย์ พระมารดา นักบุญยอห์น สตรีใจศรัทธา
        และนายร้อยอยู่ที่เชิงกางเขน (ยน.19:25-27, มธ.27:55-56, มก.15:39-41)



      เยซู (Jesus) หรือ (Joshua)   ภาษาฮีบรู แปลว่า พระยาเวห์ทรงเป็นความรอด
      ชื่อนี้เป็นที่นิยมกันมากในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ เป็นชื่อที่อัครเทวฑูตกาเบรียลมอบให้
      เมื่อถือสารมาแจ้งแก่พระนางมารีย์ (ลก.1:31)   มีความหมายว่า "พระผู้ช่วยให้รอด"  ตามที่เทวฑูตแจ้งแก่นักบุญยอแซฟในความฝัน (ลก.1.21)

      ชีวประวัติ พระเยซู ตามพระคัมภีร์
      •   เป็นบุตรพระเจ้าที่ทรงลงมาบังเกิดในครรภ์พระนางมารีย์ โดยมีนักบุญยอแซฟ เป็นบิดาเลี้ยง (ลก.4:22, มธ.13:55, มก.6:3, ยน.19:25-28)
      •   ทรงเป็นช่างไม้ (มก.6:3, มธ.13:55)
      •   ทรงมีเชื้อสายกษัตริย์ดาวิด (ลก.20.41-45, 3:23-38, มธ.15.22, 9:27, 1:1-16)
      •   ประสูติ ณ ตำบลเบทเลแฮม ในถ้ำเลี้ยงสัตว์ (ลก.2.1-7)
      •   ประสูติจากสาวพรหมจารี (ลก.1.26-38 มธ.1.18-25)
      •   เป็นชาวนาซาแรธ (ลก.2.39-40, 4.16)
      •   เป็นพระศาสดาสอนศาสนา(ประกาศก) (ลก.3.23 มธ.4.17)
      •   บุคคลิกภาพของพระองค์ สุภาพ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย (มธ.8.20) อ่อนหวาน (มธ.11.29) ไม่นิยมความรุนแรง (ลก.9.51) เมตตากรุณา
        รักคนบาป คนจนเป็นพิเศษ (ลก.7.36-50, 13.10-17,15.1-8 มก.2.13-17,8.1-10) ยุติธรรม (มธ.17.24-27) ร้อนรนในพระศาสนา (ยน.2.13-21)
        ฉลาด ปฏิภาณดีเยี่ยม (มก.12.13-17, ยน.8.1-11) กล้าประณามคนทำผิดแม้ระดับชั้นหัวหน้า (มก.12.38-40, ลก.13.31-33, มธ.23.1-36)
      •   สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  (มธ.26.47-27.61)
      •   กลับคืนชีพ (มธ.28.1-10, มก.16.1-18, ลก.24.1-12, ยน.20.1-11)  


        พระนาม "มารีย์" อาจมีความหมายได้ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

      • 1. " มารีอา " ภาษาฮีบรู แปลว่า " ดาวทะเล หรือ ดาราสมุทร "
      • 2. " มารีอา" ภาษาซีเรียน แปลว่า " คุณนาย " (Our Lady, Notre Dame, Ma(Mia) Donna)
      • 3. "มารีอา" ภาษาอียิปต์ แปลว่า " ผู้ที่พระเจ้าทรงรัก โปรดปราน" ในสมัยพระเยซูเจ้ามีผู้ตั้งชื่อนี้กันมาก คนแรกที่ใช้ชื่อนี้คือ
        พี่สาวของโมเสส(มีเรียม = มารีอา) สมัยชาวอิสราเอล ตกเป็นทาสของชาวอียิปต์

      • ตำแหน่งหรือเกียรติที่คริสตชนนิยมถวายแด่พระนางมารีย์ คือ ตำแหน่ง "พระแม่ – พระมารดา"
                        เป็นตำแหน่งที่มีระบุไว้ในพระวรสารตอนที่พระเยซูคริสต์เจ้าก่อนสิ้นพระชนม์ได้มอบยอห์นให้เป็นลูก และให้พระนางมารีย์เป็นแม่(เทียบ ยน.19:26-27)
        นับตั้งแต่สมัยพระสันตะปาปาซิกส์โตที่ 4 ในศตวรรษที่ 15 เรื่อยมา คำสอนเกี่ยวกับพระแม่มารีย์มารดาของชาวเราได้รับการอธิบายและเน้นเด่นชัด
        พระแม่เป็นมารดาของชาวเราในความหมาย 3 อย่าง ดังต่อไปนี้
                        1) ความหมายเปรียบเทียบ พระนางมารีย์ทำตนเหมือนแม่ ภาวนาวอนขอพระหรรษทานเพื่อลูก
                        2) ความหมายเป็นแม่เลี้ยงหรือแม่บุญธรรม เพราะพระเยซูคริสต์เจ้าทรงยกให้เป็นแม่ของชาวเรา
                        3) ความหมายเป็นแม่จริงๆ คือ ถ่ายทอดชีวิตฝ่ายวิญญาณให้เรา โดยการให้กำเหนิดชีวิตเหนือธรรมชาติ (เป็นผู้ร่วมไถ่บาป)
      • " แม่พระ" เป็นตำแหน่งคู่กับตำแหน่ง "พระแม่" สังคายนาเอเฟซัส (ค.ศ.431) ประกาศว่า พระนางมารีย์ทรงเป็น "มารดาพระเจ้า" (Theotokos-Mater Dei) หมายความว่าพระเยซูเจ้าซึ่งเป็นพระบุตรของพระแม่มารีย์ทรงเป็นทั้งหมุษย์แท้และพระเจ้าแท้ พระแม่มารีย์ซึ่งเป็นมารดาของ พระเยซูเจ้าทั้งครบ ก็ย่อมได้รับสมญานามว่า" มารดาพระเจ้า " โดยปริยาย
      • "พระนางพรหมจารี" เป็นตำแหน่งสำคัญอีกตำแหน่งหนึ่งของพระแม่มารีย์ ในวัฒนธรรมยิว-คริสต์ "พรหมจารี"หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มชนที่ถวายตัวแด่พระเจ้า และยืนหยัดสัตย์ซื่อต่อพระองค์ คนหนึ่งเป็นพรหมจรรย์หรือพรหมจารีต้องเป็นผู้รักษาความบริสุทธิ์ทางกายทั้งครบ เพื่อเป็นเครื่องหมายความสัตย์ซื่อ และการถวาย ตัวแด่พระเจ้าจริง การถวาย ตัวเป็นพรหมจารีเช่นนี้ทำให้พระนางมารีย์เป็นทั้งพรหมจารีและมารดา เพราะความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าเช่นนี้ ทำให้เกิด ความสมบูรณ์ทางวิญญาณ
      • พระคุณพิเศษที่พระแม่มารีย์ได้รับจากพระเจ้าเหนือมนุษย์ ใดๆ คือ "การปฏิสนธินิรมล" เทวดากาเบรียลยืนยันพระคุณนี้ โดยการทักทาย พระนางว่า "วันทามารีอา เปี่ยมด้วยหรรษทาน" สันตะปาปาปีโอที่ 9 ทรงประกาศเป็นข้อความเชื่อในสมณสาสน์ Ineffabilis Deus เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1854

        • "การได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ" พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ทรงประกาศเป็นข้อความเชื่อทางสมณสาสน์ Munificentissimus Deus เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1950 ว่า พระนางมารีย์ได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ
        • ความศรัทธาต่อแม่พระเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสารยกย่องพระแม่มารีย์ เช่น นักบุญลูกา(ลก.1 :43, 11:28)
          นักบุญมาร์โก (มก.3:35) นักบุญยอห์น(ยน.2:1-12) นักบุญเปาโล(กท.4:4)
        • ในศตวรรษที่ 2 พูดถึงพระแม่มารีย์ว่าเป็น "เอวาใหม่" หลังจากประกาศข้อความเชื่อว่า พระนางเป็นมารดาพระเจ้าที่เมืองเอเฟซัส
          (ค.ศ.431) ความศรัทธาต่อพระแม่มารีย์ได้แผ่วงกว้างไกลยิ่งขึ้น มีวัดถวายแด่พระแม่มารีย์มากมาย เช่น วิหาร St.Mary Major โรม
          มีบทภาวนาต่าง ๆ สรรเสริญแม่พระ เช่น Ave Mari Stella, Salve Regina บทวันทามารีอาเริ่มมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6
        • ในศตวรรษที่ 7 พระศาสนจักรตะวันตกเริ่มรับเอาการฉลองอื่น ๆ เกี่ยวกับแม่พระ ซึ่งพระศาสนจักรทางตะวันออกมีอยู่ก่อนแล้ว
          ทั้งนี้เพราะพระสันตะปาปาในช่วงนั้นคือ Theodore I และ Sergius I เป็นชาวกรีก วันฉลองเหล่านี้ได้แก่
                   1) แม่พระถือศีลชำระ
                   2) แม่พระ รับสาร
                   3) แม่พระได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์
                   4) แม่พระทรงบังเกิด
        • สังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ปรับปรุงความศรัทธาต่อพระแม่มารีย์ตามหลักเทววิทยาเสียใหม่
          หลักสำคัญที่สุด คือ การที่พระนางทรงเป็นมารดาของ พระเยซูคริสต์เจ้า มารดาพระเจ้า และมารดาของชาวเรา

          ความศรัทธาต่อแม่พระแสดงออกได้ 3 ทาง คือ
          1) การเคารพนับถือพระนาง     2) การวิงวอนขอพระนาง และ     3) การเลียนแบบอย่างพระนาง

        • อนึ่ง ความศรัทธาต่อพระแม่มารีย์ มิใช่การนมัสการ เพราะการนมัสการเราใช้กับพระเจ้าเท่านั้น
          เราเคารพนับถือพระแม่มารีย์เป็นพิเศษ เหนือนักบุญและเทวดาเท่านั้น
                
    [ TESTAMENT] [OUR FATHER] [HOLY MOTHER] [BELIEVE IN GOD] [ PRAYER] [ NAME JESUS ] [ GOOD NEWS]
    [ST.JOSEPH] [THAI CATHOLIC] [ HOLY BIBLE] [ NICHOLAS] [ คืนสุดท้าย ] [ HOLY CROSS] [ เดินรูป 14 ภาค ]
    [ LONG POPE] [ HOLY ALBUM] [ PRAY ROSARY] [ ALL SAINTS] [JUBILEE 2000] [ MARIE SLIDE]

    bCentral Counter  

    Send mail to [email protected] with question or comments about this web
    Copyright @ 1995-2000 Data Computer's House. 2123-2125 Suebsiri Rd. Muang,
    Nakorn-Rachasima.30000 Thailand.    Last